สอบ mid-term ผ่านไปสองวิชา มีความมั่นใจมากว่าจะตก mean จะว่าไปแล้วข้อสอบก็ไม่ได้ยากเย็นสักเท่าไหร่ แต่ขึ้นอยู่กับการบริหารเวลาและการฝึกฝน แต่ไม่เป็นไร ถึงจะพลาดคราวนี้ ก็ได้เรียนรู้ว่า weak point ของเราคืออะไร และจะต้อง focus ตรงไหน
ที่น่าสนใจกว่าวันนี้ก็คือ MIT Dean's Innovative Leader Series ที่ได้อดีต CEO ของ HP มาเล่าถึงชีวิตของเธอให้เราฟังกัน Carly Fiorina เป็น CEO ของ HP ตั้งแต่ปี 2000 - 2005 ว่ากันว่าเธอช่วยพลิกฟื้นบริษัทที่กำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจของโลกให้กลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง ผลงานที่สำคัญอีกอย่างของเธอ ก็คือการ merge รวม Compaq เข้ากับ HP แต่จู่ๆ ในปี 2005 ก็มีข่าวช็อคโลกว่าเธอถูกไล่ออกจากบริษัท ด้วยเหตุผลกลใดมิอาจทราบได้ แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้เธอเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า Tough Choices เธอย้ำให้เราฟังใน session วันนี้ว่า เธอเขียนเองทุกๆ ตัวอักษร ไม่ได้ใช้
Ghost Writer เหมือนผู้บริหารคนอื่นๆ แต่อย่างใด (นึกว่ามีแต่ดาราไทยที่ชอบใช้ Ghost Writer ซะอีก)
เบื้องหลังของ Fiorina นั้นน่าสนใจมาก เธอเรียน Medieval History และ Philosophy จาก Standford แต่รู้ตัวว่า degree นี้มันไม่สามารถ "pay the bill" เธอเลยมองหาอาชีพใหม่ เลยไปเข้าเรียน Law School ที่ UCLA แต่ก็มารู้ตัวทีหลังอีกว่าเธอเกลียดกฎหมาย คราวนี้เลยหันมาเรียน MBA ที่ University of Marlyland แทน จากนั้นเธอ ก็ได้มีโอกาสมาเข้าร่วม Sloan Fellow Program ที่ Sloan เธอบอกว่าช่วงนี้เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต เพราะเธอเคยคิดมาก่อนว่าเธอจะเป็น CEO ได้ แต่ที่ Sloan เธอได้พบกับ CEO มากหน้าหลายตา หลายคนเก่งจริง พูดจามีเหตุผล แต่หลายคนก็ห่วยแตก จนเธอบอกว่า ถ้าไม่เจอหน้ากันอีกก็คงจะดี
Fiorina เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการเป็นเลขานุการ โดยบรรยายงานของเธอในแต่ละวันว่า มีแต่พิมพ์ดีดกับรับโทรศัพท์ จนกระทั่งมีคนมาชักชวนให้ไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับ business เธอก็เริ่มค้นพบสิ่งที่ตัวเองอยากทำ เธอเข้าทำงานกับ AT&T ในฐานะ management trainee และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง Vice President โดยทำงานให้กับ Lucent Technologies บริษัทลูกที่แยกตัวมาจาก AT&T เป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะมาทำงานที่ HP
ปรัชญาการบริหารของ Fiorina หลักๆ นั้นมุ่งไปที่การบริหารคน เธอบอกว่าเรื่องตัวเลข บัญชี การผลิต การขาย นั้นเป็น fundamental ที่ทุกบริษัทต้องให้ความสำคัญอยู่แล้ว แต่จุดที่จะทำให้ differentiate หรือสร้าง competitive advantage จริงๆ นั่นก็คือคน เธอกล่าวประโยคเด็ดไว้ว่า "people are people, whereever they are" จะหมายความว่าอะไร ก็แล้วแต่ที่จะตีความกันเอาเอง แต่อยากให้ซึ้งคงต้องอ่านหนังสือของเธอ (ซึ่งผมยังไม่ได้อ่าน หากได้อ่านแล้วจะมาเล่าสู่กันฟังต่อไป)
สิ่งที่เธอเน้นให้เราฟังวันนี้อีกอย่างก็คือ เธอเห็นว่า management นั้นสำคัญ แต่ management ไม่ใช่ leadership คนที่ภาวะผู้นำสูงๆ ต้องสามารถตัดสินใจใจภาวะคับขัน และสามารถนำพาบริษัทผ่านการเปลี่ยนแปลงไปให้ได้ มนุษย์ทุกคนเหมือนกัน คือ มีแน้วโน้มที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะสื่อสารทำความเข้าใจกับทุกคนในองค์กรให้รับรู้ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ สิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารแบกไว้บนบ่านั้นเป็นภาระที่หนักอึ้ง ใครที่คิดจะเติบโตเป็นผู้บริหารต้องเตรียมใจรับความจริงข้อนี้ไว้ให้ดี
จบจากการบรรยายแล้ว พวกเราชาว sloanies ก็ไปยืนต่อแถวให้เธอเซ็นลายเซ็นให้ Fiorina ยิ้มแย้มแจ่มใสและดูเป็นมิตร ผิดกับท่าทางบนเวทีที่เธอดูจริงจัง และดูเป็นมืออาชีพมากๆ
The Dean's Innovative Leader Series คราวหน้า ได้ Daniel Hesse CEO ของ Embarq Corporation มาบรรยาย จริงๆ แล้วผมก็ไม่รู้จักเหมือนกันว่าเขาเป็นใคร แต่ก็ว่าจะลองไปเข้าดู หวังว่าจะได้มุมมองอะไรใหม่ๆ มาใส่ในสมองอันว่างเปล่าได้บ้าง
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment